ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Ah1N1)

"เรียนรู้ รวบรัด รับมือโรค"

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสมีชื่อว่า ไวรัสอินฟลูเอนซา ( Influenza virus ) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสถูกมือของเครื่องใช้เปื้อนเชื้อโรค ระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ,บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากพันธุ์ย่อยๆ เพียงพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อพันธุ์นั้น เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อของประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร?
ไข้หวัดใหญ่พบมากทุกอายุ โดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการตายมักจะพบใน
ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ป้องกันได้ผลมากที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน และลดการหยุดงาน ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลมีไข้ไม่สูง สำหรับไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อจากไวรัส ที่เรียกว่า "Influenza virus" เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจจะลามลงไปปอด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเร็ว ไข้สูงกว่าไข้หวัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างฉับพลัน

สัญญาณของผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 AH1N1
ผู้ที่ติดเชื้อจะมีลักษณะอาการเหมือนคนที่เป็นไข้หวัดปกติ เช่น ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ หนาว และไม่มีเรี่ยวแรงอ่อนล้าร่วมด้วย
ในบางรายอาจจะมีอาการท้องเสียกับอาเจียนร่วมด้วยในอดีตเคยมีผู้ป่วยอาการรุนแรงถึงขั้น ปอดบวม และระบบหายใจล้มเหลว แล้วเสียชีวิตในที่สุด

ผู้ที่ติดเชื้อควรได้รับพิจารณาในการติดเชื้อ ระยะเวลาความยาวนานในการฟักเชื้อจนมีอาการและความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนาน ประมาณ 1 สัปดาห์
โดยเฉพาะเด็กเล็ํกอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน อาการผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 AH1N1 ที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตได้ดังนี้ ในเด็ก หากมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อย ปลุกไม่ตื่น ไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน มีอาการหวัด ไออย่างรุนแรง อาการพวกนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที
ในทางผู้ใหญ่มีอาการเหมือนกันคือ หายใจถี่ เจ็บแน่นหน้าอก ท้องเสีย อาเจียน หรือถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด ต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน
โอกาสในการที่จะรับเชื้อ

อาการ
มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง แต่บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง อาการไอและอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่นๆ จะหายลงแล้ว บางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการเวียนศรีษะเมารถเมาเรือเนื่องจากการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเอง ใน 3-5 วัน
ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน
ระยะฟักตัว 1-4วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
-ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างฉับพลัน
-เบื่ออาหาร คลื่นไส้
-ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
-ปวดตามแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบตา
-ไข้สูง 39-40 ํc
-เจ็บคอ และ คอแดง มีน้ำมูกใสไหล
-ไอแห้ง ๆ
-ตามตัวจะร้อน แดง
ตาแดง
-อาการอาเจียน หรือท้องเดิน ไข้เป็น 2-4 วันแล้วค่อย ๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูก และแสบคอยังคงอยู่โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์

สำหรับรายที่เป็นรุนแรงมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นด้วย เช่น
อาจพบการอักเสบของ
เยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรืออาการหัวใจวาย ผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบ
ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง
ระบบหายใจ มีหลอดลมอักเสบ และปอดบวมผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายมีอาการไอ และปวดตามตัวนาน 2 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตมักจะเกิดจากปอดบวม และโรคหัวใจ หรือโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

สิ่งตรวจพบ
-ไข้ 38.5-40 องศาเซลเซียส หน้าแดง เปลือกตาแดงอาจมีน้ำมูกใสๆ คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลยก็ได้ ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่นๆ

การกระจายและการติดเชื้อมี 2 ทาง ทางแรกคือเกิดจากการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อหรือตอนที่อยู่ในสภาพที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อ ทางที่สองการเกิดจากการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ
ไข้หวัด การกระจายและติดเชื้อจากคนสู่คนได้มีการบันทึกไว้และถูกคาดการว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนคือ
การไอหรือจามของผู้ติดเชื้อ

การวินิจฉัย


การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลักโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของเชื้อ การวินิจฉัยที่แน่นอนอาจจะทำได้ 2 วิธีคือ

-นำไม้พันสำลีแหย่ที่คอ หรือจมูก แล้วนำไป
เพาะเชื้อ เจาะเลือด

-ตรวจหา
ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโดยต้องเจาะ 2 ครั้งห่างกัน 2 ชั่วโมงแล้วเปรียบการเพิ่มของภูมิต่อเชื้อ
การตรวจหา Antigen
การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent

วีธีการรักษา cdc หรือศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา
แนะนำให้ใช้ยา oseltamivir หรือ zanamivir สำหรับการบำบัดรักษา

การป้องกันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการการติดเชื้อไวรัสนี้ ยาต้านไวรัส antivirus durg ตามคำสั่งของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดยาน้ำหรือยาชนิดสูดดม ที่มีฤทธิ์ต้านหวัดช่วยได้โดยการป้องการเจริญและเพิ่มปริมาณในร่างกาย(แต่ยังคงมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกาย) ถ้าหากมีอาการป่วยยาต้านไวรัสเหล่านี้ ถ้าหากมีอาการป่วยยาต้านไวรัสพวกนี้สามารถทำให้อาการป่วยลดลงได้ สำหรับการรักษายาต้านไวรัสเห็นผลดีที่สุด ถ้าใช้เริ่มมีอาการป่วยในช่วง 2 วันแรก ที่มีอาการเหมือนเชื้อหวัด

ข้อแนะนำตามขั้นตอนที่พึงปฎิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องสุขภาพของตัวคุณเองดังต่อไปนี้

1.ใช้กระดาษทิชชู่ปิดจมูกและปากของคุณเมื่อมีอาการไอหรือจาม และทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วลงถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดหลังการใช้ทันที
2.ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น
เจลล้างมือ บ่อยๆโดยเฉพาะหลังการไอหรือจาม
3.พยายามหลีกเลี่ยงพบปะหรือสัมผัสผู้ป่วย ถ้าหากป่วยเป็นหวัดควรหยุดพักนอนอยู่บ้าน เพื่อจำกัดการพบปะผู้อื่น เพื่อป้องกันการเผยแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
4.หลีกเลี่ยงการสัมผัส ตา จมูก ปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอวัยวะเหล่านี้ได้

ผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อไร

ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้และท่านสามารถดูแลตัวเองที่บ้าน แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่าน

ผู้ป่วยเด็ก

-ในเด็กควรจะปรึกษาแพทย์เมื่อ
-ไข้สูง และเป็นนาน
-ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5ํ c
-หายใจหอบ หรือหายใจลำบาก
-มีอาการมากกว่า 7 วัน
-ผิวสีม่วง
-เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
-เด็กซึมลง ไม่เล่น
-เด็กไข้ลดลง แต่หายใจหอบ

ผู้ป่วยผู้ใหญ่

-สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่
-ไข้สูง และเป็นมานาน
-หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
-เจ็บหรือแน่นหน้าอก
-หน้ามืดเป็นลม
-สับสน
-อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้

ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรพบแพทย์ทันทีที่เป็นไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ
โรคไต เบาหวาน หอบหืด มะเร็ง เป็นต้น
-คนท้อง
-ผู้ป่วย
โรคเอดส์
-ผู้ที่พักใน
บ้านพักคนชรา
-ผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการต่อไปนี้ต้องเข้าโรงพยาบาล

-มีอาการขาดน้ำ ไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
-ไอ แล้วเสมหะมีเลือดปน
-หายใจลำบาก หายใจหอบ
-สีริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีเขียว
-ไข้สูงมากผู้ป่วยเพ้อ
-มีอาการไข้ และไอหลังจากที่อาการไข้หวัดใหญ่หายไปแล้ว


ขอบคุณที่มา
-www.oknation.net/blog สุขภาพและความงาม
-Wikipedia.org

ภาพประกอบจาก
-ah1n1.com
-ateneoconfucius.com
-epid.gov.lk
-oknation.net
-drnui.com




เนื้อหาจากในคลิปนั้นกล่าวถึง ที่มาของโรค การผลิตวัคซีนป้องกันโรค วิธีการป้องกัน วิธีใส่หน้ากากอนามัย และวิธีล้างมือที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เจลล้างมือ
สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในคลิปข้างต้นครับ
โดยสรุปแล้ว ความร้ายแรงของไข้หวัดชนิดนี้ แทบจะไม่ต่างจากไข้หวัดใหญ่ทั่วๆไป เพียงแต่ วิธีการนำเสนอข่าว รวมถึงความใหม่ของโรค ทำให้โรคนี้ดูร้ายแรงขึ้นมา จากความสนใจของประชาชน อัตราการตายของผู้ป่วยนั้นถ้าเทียบกับไข้หวัดใหญ่ทั่วๆไปแล้วก็ไม่ต่างกันมากมายนัก
อยากจะฝากไว้ว่า ถ้าเรารู้สึกเฉยๆกับมัน มันก็จะเฉยๆ กับเราเช่นกัน


Staffs

Coordinator/CL - Chanet chaowatin 4906100009
Editor/CE - Sorawis Chuttrakulchai 4906100010
Foreman/PD - Nuttawut Yuttiporn 4906100011
Coordinator/AC - Kamolsuk Kositwitsin 4906100012
Photographer [SP] - Ruttachan Parntah 4906100018
Photographer [MP] - Tawatchai Somsri 4906100033
Writer/MC - Chatree khatkaomeng 4906100036

0 ความคิดเห็น:

Deja un comentario

Volver al inicio Volver arriba CommunicationArt_jrutcc. Theme ligneous by pure-essence.net. Bloggerized by Chica Blogger.