ดอนหอยหลอด สภาวะวิกฤตที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้



"ดอนหอยหลอด" มรดกโลก สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ถูกลืม แต่ถูกละเลย น้อยนักที่จะได้รับการปกป้อง การอนุรักษ์จากมนุษย์ การปลูกจิตใต้สำนึกนั้นมีความสำคัญไม่น้อยกว่าบทบาทของกฏหมาย

ปัจจุบันดอนหอยหลอดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการที่มีนักท่องเที่ยวพากันหลั่งไหลเข้ามาในดอนแห่งนี้กันอย่างไม่ขาดสาย เนื่องจากการคมนาคมที่สะดวก และความฉับไวของสื่อมวลชนและประชาชนผู้รับสื่อ ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ และส่งผลดีต่อประเทศชาติในแง่ของเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกันการที่ดอนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่ชุมนุมของนักท่องเที่ยวนั้นก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาและส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพแวดล้อม คุณค่า และทรัพยากรของมรดกโลกแห่งนี้เช่นเดียวกัน

นางสุภาพ คงรักษา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ตำบล บางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามกล่าวถึงสาเหตุและประเด็นการเสื่อมสภาพของดอนหอยหลอดว่า การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดก็คือการที่มีจำนวนหอยที่ลดลงไปอย่างมาก จากเมื่อก่อนชาวบ้านสามารถจับหอยได้วันละ 20-30 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งราคาแต่ละกิโลกรัมมีมูลค่า 150-200 บาท แต่ในปัจจุบันปริมาณหอยได้ลดลงเหลือเพียงคนละไม่ถึง 10 กิโลกรัม และในปัจจุบันมีดอนที่ยังคงหลงเหลืออยุ่เพียง 2 ดอนเท่านั้นจากเดิมที่เคยมีอยู่ 5 ดอน และสาเหตุที่หอยลดปริมาณลงอย่างมากนั้นนางสุภาพได้ให้เหตุผลว่า เกิดจากความโลภของมนุษย์ที่ต้องการจับหอยให้ได้ปริมาณต่อครั้งเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีในการจับหอย จากเดิมชาวบ้านที่ทำมาหากินโดนการจับหอยหลอดจะใช้ปูนขาวหยอดลงไปในรูหอยหลอดเพื่อนให้หอยหลอดโผล่ขึ้นมาจากนั้นจึงค่อยเก็บเกี่ยว แต่เมื่อชาวบ้านเกิดความต้องการหอยหลอดในจำนวนที่มากขึ้น จึงมีการนำเข้าด้วยวิธีการใหม่ โดยการใช้โซดาไฟสาดลงรูหอยหลอดแทนปูนขาว ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวหอยหลอดนั้นมีปริมาณที่มากขึ้นกว่าการใช้ปูนขาว การที่ชาวบ้านใช้โซดาไฟสาดลงรูหอยหลอดนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากและยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หอยในพื้นที่ลดลง เพราะโซดาไฟมีฤทธิ์เป็นกรดรุนแรงมากกว่าปูนขาวและโซดาไฟนอกจากจะทำลายหอยที่โตไม่เต็มที่แล้วยังทำให้สภาพดินเกิดความเป็นกรดมากขึ้นจึงเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของหอย



"ในเมื่อดินถูกทำลายไปแล้ว หอยหลอดทั้งหลายจะไปเติบโตที่ไหน จำนวนหอยก็เลยต้องลดลงตามไปด้วย หรือแม้แต่การสร้างตึกอาคารพาณิชย์หรือร้านอาหาร นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันไปเที่ยวดอนหอยหลอดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้นเฉลี่ยนได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 500-1000 คนต่อวัน บางคนก็ลงไปย่ำดินที่หอยอาศัยอยู่เพื่อหวังจะได้เห็นมันได้ถนัดตา แต่หารู้ไม่ว่าการเข้าไปเหยียบย่ำมากขึ้นๆนั้นบางทีอาจไปเหยียบพวกหอยหลอดเหล่านั้นเข้าก็ได้" นางสุภาพกล่าว

นายชิม นักท่องเที่ยวดอนหอยหลอด ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มาเที่ยวที่ดอนหอยหลอดเป็นประจำเพราะ ที่พักอาศัยอยู่ไม่ไกลจากตำบลบางจะเกร็งมากนัก มีการเปลี่ยนแปลงไปแน่นอนเพราะเมื่อก่อน การที่จะไปดูหอยหลอดนั้น เดินจากริมฝั่งเพียงไม่กี่เมตรก็สามารถชมการจับหอยหลอดของชาวบ้านแถวนี้ได้แล้ว แต่ตอนนี้ต้องเดินออกไปไกลกว่าแต่ก่อนเยอะเหมือนกัน เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการใช้โซดาไฟแต่ตนคิดว่าไม่น่าจะร้ายแรงจนทำให้หอยหลอดต้องสูญพันธุ์


นางสุภาพ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อสังเกตุจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากบริเวณที่ติดกับริมฝั่งปัจจุบันนี้ไม่สามารถหาหอยหลอดได้เลยจากบริเวณดังกล่าว ชาวบ้านจะต้องนั่งเรือออกไปกลางแม่น้ำถึงจะมีหอยหลอดให้เก็บ ส่วนบริเวณริมชายฝั่งนั้นอย่าได้หวังเพราะมองจากสภาพพื้นดินที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้งไม่เพียงแต่หอยหลอดเท่านั้นที่ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ สิ่งมีชีวิตประเภทอื่นก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ด้วยเช่นเดียวกัน

นายเอ(นามสมมติ)ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวล่องเรือชมดอนหอยหลอด ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ปริมาณหอยในอดีตและในปัจจุบันยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ชาวบ้านก็ยังคงเก็บหอยมาเลี้ยงชีพเหมือนปกติ ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำจะขึ้นสูงกว่าเดิมแต่ไม่มีผลกระทบอะไร และปัญหาในการใช้โซดาไฟหยอดลงรูหอยหลอดก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน ตนได้ชี้แจงว่าตอนนี้ได้มีกฏหมายออกมา ทำให้ไม่มีชาวบ้านใช้โซดาไฟในการเก็บหอย เพราะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์นางสุภาพถึงคำกล่าวอ้างของผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวล่องเรือชมดอนหอยหลอด ถึงปัณหาของดอนหอยหลอดแห่งนี้ว่า เป็นคำกล่าวอ้างเชิงธุรกิจเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับรายได้ ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง

ปัจจุบันนี้ผู้ที่มีอาชีพหยอดหอยเพื่อนำไปขายได้ลดลง เนื่องจากได้มีการสังเกตถึงการประกอบอาชีพอื่นน่าจะมีรายได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนหอยที่ลดลงกว่าในอดีตเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ก่อนนั้นพื้นที่ในดอนหอยหลอด 1 ตารางเมตรสามารถจับหอยได้มากถึง 50-60 ตัว เมื่อเทียบกับทุกวันนี้ในบางตารางเมตรไม่เหลือหอยหลอดให้เก็บแม่กระทั่งตัวเดียว ทำให้ผู้ที่ทำอาชีพหยอดหอยในปัจจุบันเหลือเพียงราว 20 ราย

"การออกกฏหมายมาบังคับใช้กับพวกนี้เป็นไปได้ยาก เพราะพวกชาวบ้านก็เป็นประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันการจะใช้มาตรการรุนแรงกับพวกเดียวกัน เป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะฉะนั้นกฏหมายหรือมาตรการที่มีออกมาใช้ อาจจะไม่ได้ผล สิ่งที่อยากจะสื่อก็คือ การปลูกจิตใต้สำนึกของคนในหมู่บ้านและคนในละแวกนั้นมากกว่า"




การที่จะรักษาสิ่งที่เรียกว่ามรดกโลกนั้นอันที่จริงแล้วไม่ยาก จะเป็นคนในชุมชนหรือประชาชนทุกคนไม่ว่าใครก็สามารถทำได้เพราะอย่างน้อยถ้าทุกคนมีจิตสำนึกในการทำมาหากิน ให้คิดว่าที่นี่คือแหล่งทำมาหากินของเรา ถ้าไม่ช่วยกันอนุรักษ์และรักษาไว้แล้วใครจะมาทำให้เรา การที่หอยหลอดลดจำนวนลงไปมากในปัจจุบันนี้ก็เพราะพวกเรานี่เอง ที่ทำมาหากินแบบผิดๆ และหากทุกคนยังไม่มีจิตสำนึกกัน ก็เป็นไปได้ว่าลูกหลานของเราอาจจะไม่ได้เห็นดอนหอยหลอดอีกเลย






คณะผู้จัดทำ
นาย ปรีชพล สารธรรม 48610108
นาย สรธัช ผลถาวรกุลชัย 4906100017
นาย ภัทรพล ณ บางทราย 4906100016
นาย คณิตพงศ์ ยงดีมิตรภาพ 4906100042

0 ความคิดเห็น:

Deja un comentario

Volver al inicio Volver arriba CommunicationArt_jrutcc. Theme ligneous by pure-essence.net. Bloggerized by Chica Blogger.