liquid (( เด็กสะพายกระเป๋าหนัก ))



Liquid


การไปโรงเรียนทุกวันคือภารกิจของนักเรียนทุกคนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็ตาม การศึกษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เรื่องสุขภาพเพราะในขณะนี้ไม่ว่าจะทำอะไร หรือแม้แต่กระทั่งเรื่องอาหารการกินอะไรก็เป็นโรคได้หมดถ้าเราไม่ใส่ใจ ทำให้นึกถึงเรื่องราวในสมัยก่อนที่ยังเป็นเด็ก ในเรื่องการสะพายกระเป๋าหนักๆไปโรงเรียน เพราะการไปโรงเรียนนั้นไม่ได้ไปตัวเปล่าๆ จะต้องสะพายกระเป๋าหรือเป้หนักๆไปเรียน แต่หารู้ไม่ว่ามันคือภัยอันตรายที่ค่อยๆคืบคลานเข้ามาทำลายระบบโครงสร้างของร่างกายและกระดูกสันหลัง การสะพายกระเป๋าหนักๆที่ต้องใช้บ่าและไหล่รองรับน้ำหนักนั้นจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยเฉพาะเด็กในช่วงประถมศึกษาปีที่1-6ซึ่งอยู่ในช่วงที่โครงสร้างของกระดูกกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า --- การสะพายกระเป๋าที่หนักเกินไปจะส่งผลเสียอย่างไรต่ออวัยวะส่วนใดของร่างกายบ้าง หลักสูตรในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมในปัจจุบันเป็นอย่างไร เหมือนกันที่พวกเราๆเคยเรียนกันในสมัยก่อนๆไหม ? จึงทำให้เราได้ประเด็นนี้ขึ้นมา มาค่ะวันนี้จะพาไปศึกษาเกี่ยวกับกรณีนี้ค่ะ


ก่อนอื่นเราต้องไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียน และการใช้หนังสือเรียนของเด็กประถมในปัจจุบันนี้โดยมีอาจารย์บัณฑิต จันทร์เผ่าแสง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยาได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า หนังสือเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-6ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้กำหนดไว้ แบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีเนื้อหาหลักๆอยู่5วิชา คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม และภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากนั้นในการเพิ่มหนังสือเรียนอื่นๆขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน เอ๊ะ !! แต่แอบสงสัยว่าวิชา กพอ. สลน. สปช. หายไปไหน ?..อิอิ


เมื่อถามถึงกรณีศึกษาในเรื่องดังกล่าวรองผู้อำนวยการกล่าวว่า ในกรณีที่ทำให้กระเป๋านักเรียนหนักนั้นอาจเป็นผลมาจากการที่นักเรียนไม่รู้จัก การจัดกระเป๋าตามตารางการเรียนในแต่ละวันซึ่งผู้ปกครองและคุณครูต้องช่วยกันดูแลในเรื่องนี้


"น้องจะต้อง สะพายกระเป๋ามาเรียนทุกวันซึ่งกระเป๋ามันหนักมาก ยิ่งถ้าต้องนั่งรถเมลล์มาโรงเรียนก็จะมีผลต่อกระดูกสันหลังอย่างแน่นอนเพราะ มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระดูกสันหลังโดยตรง" ผู้ปกครองเด็กนักเรียนโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยากล่าว





ในขณะที่สอบถามข้อมูลจากเยาวชนไทยหลายๆคนได้เสนอข้อคิดเห็นที่ตรงกันว่า
อยากให้คุณครูอนุญาตให้เอาหนังสือทิ้งไว้ที่โรงเรียนได้ ไม่ต้องเอากลับบ้านทุกวัน บางทีขี้เกียจจัดตารางสอนก็จะเอาหนังสือใส่กระเป๋าไว้ทุกเล่ม ถึงเวลาเรียนวิชาก็เอาวิชานั้นออกมา กระเป๋าก็หนักเหมือนกัน






ด้านนางสาวเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับโครงสร้างร่างกายโดยวิธีทางกายภาพบำบัดประยุกต์แห่ง "สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ" (ARIYA WELLNESS CENTER) อธิบายถึง อาการปวดหลัง คอและบ่า ว่า การสะพายกระเป๋ามีภาวะโดยตรงต่อระบบกล้ามเนื้อ เด็กในปัจจุบันจะต้องสะพายกระเป๋าไปเรียนทุกวันเวลาสะพายจะเหมือนกล้ามเนื้อในกระดูกทำงานมากกว่าปกติ เพราะมีหนังสือและมีบุคลิกแตกต่างจากเด็กในสมัยก่อนคือต้องถือไปโรงเรียนทุกวัน ฉะนั้นการทำพฤติกรรมแบบนี้เป็นประจำเหมือนกับว่าเป็นการดัดให้กระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อผิดรูปร่างตามไปด้วย





จากการค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ได้รู้ว่า กระเป๋าใช้หลังแบกเป็นหลัก ทำให้น้ำหนักกดทับโดยตรงที่กล้ามเนื้อ ต้นคอ ไหล่ หลังและกระดูกสันหลังซึ่งพบว่าร้อยละ 29 ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดคอ ไหล่ หรือหลังสอดคล้องกับข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า มีการศึกษาชัดเจนว่าถ้ามีอาการ "ปวดหลัง" ตั้งแต่ตอนเด็ก โตขึ้นไปอาการปวดหลังก็จะเกิดเรื้อรังได้เทียบเคียงข้อมูลจากต่างประเทศ พบว่า คนในวัยแรงงานที่ปวดหลังเรื้อรังก็มีปัญหามาตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น และถ้าแบกกระเป๋าที่หนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว จะส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ตลอดจนความโค้งงอของกระดูกสันหลังก็จะผิดรูปร่างไป

ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ยังระบุด้วยว่า เด็กๆ ไม่ควรแบกของหนักเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวและถ้าแบกน้ำหนักเกินร้อยละ 20 ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤตนอกจากนี้การแบกกระเป๋าที่ผิดวิธี เช่น แบกด้วยไหล่ข้างเดียว แบกต่ำกว่าเอว ก็มีโอกาสที่จะทำให้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น แม้กระทั่งกระเป๋าล้อลากเองที่แม้ว่าจะลดภาระการแบกของเด็กๆ แต่ก็พบว่ามีโอกาสที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เช่น การขึ้นรถเมล์ การขึ้นบันได หากล้อลากไปติดโอกาสของการบาดเจ็บก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่... ข้อดี ของการสะพายเป้นี้ก็มีอยู่บ้างมันสามารถบรรจุของได้มากมาย สามารถที่จะสะพายไปที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมานั่งถือหรือระแวงว่าวางไว้ที่ไหนแล้วลืมถือกลับมา

ทั้งนี้มีข้อแนะนำในการสะพายกระเป๋ามาฝากค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องสะพายเป้เป็นประจำนั้นควรมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการสะพายเป้ ซึ่งสามารถทำได้เมื่อต้องใช้เป้ให้ดึงสายให้แนบกระชับกับตัวเพื่อกระจายน้ำหนักไปให้ทั่วกับต้องจัดท่าให้สมดุลไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง การสะพายเป้ด้วยไหล่ข้างเดียวเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องส่วนกระเป๋าเป้ควรแนบกับตัวไม่แกว่งไปมา ให้อยู่ตำแหน่งประมาณกลางหลัง อย่าห้อยต่ำลงมากจนเกินไป สำหรับน้ำหนักกระเป๋าควรอยู่ที่ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวของผู้ใช้ หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ดีค่ะ และเวลาจัดกระเป๋าควรนำสิ่งของไปเท่าที่จำเป็น ของหนักให้ไว้ข้างล่าง นอกจากนี้ผู้ที่สะพายเป้ควรจะต้องทำตัวให้แอคทีฟเข้าไว้ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นพอที่จะแบกได้อย่างปลอดภัย ลองนำวิธีนี้ไปใช้หรือแนะนำให้กับคนที่คุณรักทำได้น่ะค่ะ ... !!

คณะผู้จัดทำ

1. แอ๋ม 004

2.เมย์ 006

3. เปิ้ล 008

4. ปอนด์ 024

5. กิ๊ฟ 027

6. ญ 029

7. เอ็ม 034

8. นัส 044

....................................................................................

ข้อมูลอ้างอิงจาก : จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาพประกอบ : http://www.dek-d.com/ และสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ

0 ความคิดเห็น:

Deja un comentario

Volver al inicio Volver arriba CommunicationArt_jrutcc. Theme ligneous by pure-essence.net. Bloggerized by Chica Blogger.